วันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

วิเคราะห์ SWOT ANALYSIS
จุดแข็ง (Strengths)
                1. อุตสาหกรรมสิ่งทอของไทย มีการขยายการส่งออกเพิ่มมากขึ้น
               
2. มีการส่งออกเพิ่มขึ้นประมาณ 7,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
               
3. ประเทศคู่ค้าหันมานำเข้าจากไทยเพิ่มมากขึ้น เป็นที่ยอมรับของหลายประเทศ
จุดอ่อน (Weaknesses)
                1. ปัญหาด้านการผลิตต่ำ เช่น เครื่องจักรล้าสมัย ขาดแคลนบุคลากร และแรงงานฝีมือ
               
2. ขาดการทำวิจัยและขาดการพัฒนารูปแบบของสินค้า
               
3. ขาดการทำตลาดเชิงรุก ไม่มีแบรนด์เป็นของตัวเอง
โอกาส (Opportunities)
               
1. ผลของการเปิด FTA การส่งออกสิ่งทอของไทย ได้ขยายการส่งออกเพิ่มมากขึ้น
               
2. กระแสการยอมรับจากหลายประเทศ เป็นการช่วยขยายการส่งออกสิ่งทอของไทย
อุปสรรค (Threats)
                1. การแข่งขันสูงจากหลายประเทศ เช่น จีน และ อาเซียน
               
2. การเข้าไปลงทุนตั้งโรงงานของผู้นำเข้ารายใหญ่ของโลก เช่น สหรัฐฯ ยุโรป

                     และญี่ปุ่น
               
3. การขาดแคลนแรงงานที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งส่งผลต่อการขยายตัว

                     ของการส่งออกอย่างมาก

วันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553


ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ในช่วงที่เหลือของปี 2553 อุตสาหกรรมสิ่งทอของไทยยังสามารถขยายการส่งออกได้เพิ่มขึ้น จนทำให้ภาพรวมการส่งออกสิ่งทอในปี 2553 คาดว่าจะมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 12 หรือมีมูลค่าการส่งออกประมาณ 7,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปัจจัยสำคัญที่ทำให้การส่งออกขยายตัวนั้น นอกจากจะได้รับอานิสงส์จากการที่ประเทศคู่ค้าหันมานำเข้ามากขึ้นแล้ว ผลของการเปิด FTA ในกรอบต่างๆ ทำให้ผู้ส่งออกสิ่งทอของไทยได้รับอานิสงส์จากการขยายการส่งออกได้เพิ่มขึ้น โดยพิจารณาได้จากมูลค่าการส่งออกในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2553 ที่เพิ่มขึ้น
            อย่างไรก็ตาม ผู้ส่งออกของไทยยังต้องพึงระวังกับปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่ อาจจะเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเผชิญการแข่งขันกับคู่แข่งที่สำคัญโดยเฉพาะจีนและอาเซียน ซึ่งถือเป็นประเทศส่งออกสิ่งทอรายสำคัญๆ ของโลก รวมถึงการเข้าไปลงทุนตั้งโรงงานของประเทศผู้นำเข้าสิ่งทอรายใหญ่ๆ ของโลก ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น หรือแม้แต่ปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่กำลังเกิดขึ้น ซึ่งจะมีผลต่อการขยายตัวของภาคส่งออกเป็นอย่างมาก
            ดังนั้น จากปัญหาดังกล่าว ไทยควรวางแนวทางการปรับตัวเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ไม่ว่าจะเป็น การปรับตัวด้านการผลิต ให้มีคุณภาพและตรงกับความต้องการของลูกค้ามากขึ้น และการปรับตัวด้านการตลาด โดย เฉพาะการขยายตลาดใหม่ๆที่มีศักยภาพ เช่น อาเซียน หรือตะวันออกกลาง ซึ่งถือเป็นฐานการผลิตเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่มที่สำคัญของโลก และคาดว่า ในอนาคตจะกลายเป็นตลาดใหญ่ที่มีความสำคัญสำหรับไทย 

วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประเทศอังกฤษ

       ประเทศอังกฤษ : กรุงลอนดอน


ชื่อทางการ   :  สหราชอาณาจักรบริเทนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ (The United Kingdom of Great Britain and Northern Ireland) แบ่งออกเป็น 4 แคว้นใหญ่ คือ อังกฤษ เวลส์ สก็อตแลนด์ และไอร์แลนด์เหนือ
เมืองหลวง    : กรุงลอนดอน
ที่ตั้ง      :  ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปยุโรป
พื้นที่    :   มีพื้นที่ทั้งหมด 242,514 ตารางกิโลเมตร หรือ 93,638 ตารางไมล์
ประชากร :   มีประชากรประมาณ 60 ล้านคน ประกอบด้วย ชนชาติอังกฤษ สก็อต เวลส์ ไอริช และประชากรจากประเทศในเครือจักรภพอังกฤษ ได้แก่ อินเดีย ศรีลังกา บังคลาเทศ ประเทศในตะวันออกกลาง แอฟริกา และจีน

แหล่งที่มา
http://www.choktaweetour.com/index_info.php?ID=17

วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ความแตกต่างระหว่างการตลาดระหว่างประเทศกับการค้าระหว่างประเทศ

   การตลาดระหว่างประเทศคือ การทำธุรกิจค้าขายอันเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มและนำเสนอคุณค่าที่อยู่ในรูปของสินค้าและบริการให้กับลูกค้าข้ามพรมแดนทางรัฐศาสตร์จากประเทศหนึ่งสู่ตลาดระหว่างประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อการหาตลาดใหม่ เพื่อแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดหรือเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่อยู่ในตลาดระหว่างประเทศ โดยจุดมุ่งหมายที่แท้จริงคือ ธุรกิจต้องการรายได้ที่เป็นเงินจากลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศ
                การตลาดระหว่างประเทศจึงเป็นเรื่องที่ซับซ้อนกว่าการตลาดภายในประเทศเป็นอย่างมาก ดังนั้นธุรกิจจะประสบความสำเร็จในตลาดระหว่างประเทศได้นั้น การตลาดระหว่างประเทศไม่ใช่เพียงแค่การขนส่งสินค้าข้ามพรมแดน การตลาดระหว่างประเทศไม่ใช่แค่การดำเนินการทางการตลาดโดยใช้หลักการตลาดพื้นฐานทั่วไป ที่ธุรกิจเคยใช้มาในตลาดภายในประเทศแล้วประสบความสำเร็จ เช่น การใช่ส่วนประสมทางการตลาด (Product, Price, Place and Promotion) ซึ่งกลยุทธ์เหล่านี้อาจจะไม่เพียงพอที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จในตลาดระหว่างประเทศ บางตลาดเลยก็เป็นได้ เนื่องจากตลาดภายในประเทศกับตลาดระหว่างประเทศจะมีความแตกต่างของปัจจัยต่างๆ อยู่เป็นอย่างมาก ดังนั้นสิ่งที่นักการตลาดระหว่างประเทศต้องระลึกถึงเสมอก็คือ วิธีที่จะสร้างความสำเร็จทางการตลาดทั้งตลาดภายในประเทศรวมถึงตลาดระหว่างประเทศนั้น นักการตลาดต้องค้นหาวิธีที่จะทำให้ธุรกิจสามารถสร้างความพึงพอใจให้ตลาดหรือธุรกิจต้องค้นหาวิธีที่จะสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ธุรกิจจึงจะพบกับความสำเร็จทางการตลาด 

แหล่งข้อมูล
www1.webng.com/logisticseminar/

          การค้าระหว่างประเทศ หมายถึง การซื้อขายสินค้าและบริการระหว่างประเทศต่างๆ ประเทศที่ทำการซื้อขายสินค้าระหว่างกัน เรียกว่า "ประเทศคู่ค้า" สินค้าที่แต่ละประเทศซื้อเรียกว่า "สินค้าเข้า" (imports) และสินค้าที่แต่ละประเทศขายไปเรียกว่า "สินค้าออก" (exports) ประเทศที่ซื้อสินค้าจากต่างประเทศ เรียกว่า "ประเทศผู้นำเข้า" ส่วนประเทศที่ขายสินค้าให้ต่าง ประเทศ เรียกว่า "ประเทศผู้ส่งสินค้าออก" โดยทั่วไปแล้ว แต่ละประเทศจะมีฐานะเป็นทั้งประเทศ ผู้นำสินค้าเข้า และ ประเทศผู้สินค้าออกในเวลาเดียวกัน เพราะประเทศต่างๆ มีการผลิตสินค้า แตกต่างกัน เช่น ประเทศไทยส่ง
 
สาเหตุที่มีการค้าระหว่างประเทศ
           เหตุผลทางเศรษฐกิจที่ทำให้ประเทศต่างๆในโลกทำการค้าขายกัน ที่สำคัญมีอยู่ด้วยกัน 2 ประการ คือ
1. ความแตกต่างทางด้านทรัพยากรที่ใช้ผลิตในแต่ละประเทศ เนื่องมาจากความแตกต่างในเรื่องสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ เช่น ประเทศไทยมีพื้นดินที่อุดมสมบูรณ์เหมาะสมแก่การเพาะปลูกมากกว่าญี่ปุ่น คูเวตมีน้ำมันมาก กว่าไทย จีนมีประชากรมากกว่าประเทศอื่นๆ ดังนั้น ประเทศใดที่มี ทรัพยากรชนิดใดมาก ก็จะผลิตสินค้าที่ใช้ทรัพยากรชนิดนั้นๆเป็นปัจจัยการผลิตสินค้าออกเพื่อแลกเปลี่ยน กับสินค้าอื่น
2. ความแตกต่างในเรื่องความชำนาญในการผลิต เนื่องจากผู้ผลิตของแต่ละประเทศจะมีความชำนาญและเทคโนโลยีในการผลิตสินค้าและ บริการแตกต่างกัน บางประเทศผู้ผลิตมีความรู้ความชำนาญเป็นพิเศษในการผลิตสินค้า บางชนิด เช่น ประเทศญี่ปุ่นมีความรู้ความชำนาญในการผลิตเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ ประเทศเนเธอร์แลนด์มีความรู้ความชำนาญในการผลิตเครื่องจักรกลการเกษตร ประเทศสวิตเซอร์แลนด์มีความรู้ความชำนาญในการผลิตนาฬิกา ความแตกต่างของ ปัจจัยดังกล่าวนี้ผลักดันให้แต่ละประเทศเล็งเห็นประโยชน์จากการเลือกผลิตสินค้าบาง อย่างที่มีต้นทุนต่ำ มีความรู้ความชำนาญ และเลือกสั่งซื้อสินค้าแตะละประเภทที่ผู้บริโภค ในประเทศของตนต้องการแต่ไม่สามารถผลิตได้ หรือผลิตได้ในต้นทุนที่สูงเกินไป และปัจจัยเหล่านี้ก้อให้เกิดการค้าระหว่างประเทศเกิดขึ้น


แหล่งข้อมูล
http://megaclever.blogspot.com/2008/07/blog-post_8307.html




ความแตกต่างระหว่างการตลาดระหว่างประเทศกับการค้าระหว่างประเทศ
          การตลาดระหว่างประเทศ คือธุรกิจจะทำการผสมผสานกิจกรรมทางการตลาดกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพให้สามารถเข้ากับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจในตลาดระดับโลกได้อย่างกลมกลืน มีประสิทธิภาพและสามารถสร้างความได้เปรียบทางการตลาด
โดยการศึกษาและสำรวจถึงความต้องการและความพึงพอใจของกลุ่มตลาดเป้าหมายของตลาดประเทศที่ธุรกิจจะทำการตลาดเพื่อที่จะตอบสนองได้ตรงความต้องการของตลาดแต่ละประเทศ
                แต่ในส่วนของการค้าระหว่างประเทศจะมุ่งเน้นที่การซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากันระหว่างประเทศต่าง กัน  ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากแต่ละประเทศมีทรัพยากรไม่เหมือนกัน    ประเทศหนึ่งผลิตสินค้าชนิดหนึ่ง  แต่ผลิตอีกชนิดหนึ่งไม่ได้  จึงจำเป็นต้องนำสินค้าอีกประเทศหนึ่งที่ตนผลิตได้ไปแลกเปลี่ยนกับอีกประเทศหนึ่ง