วันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

วิเคราะห์ SWOT ANALYSIS
จุดแข็ง (Strengths)
                1. อุตสาหกรรมสิ่งทอของไทย มีการขยายการส่งออกเพิ่มมากขึ้น
               
2. มีการส่งออกเพิ่มขึ้นประมาณ 7,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
               
3. ประเทศคู่ค้าหันมานำเข้าจากไทยเพิ่มมากขึ้น เป็นที่ยอมรับของหลายประเทศ
จุดอ่อน (Weaknesses)
                1. ปัญหาด้านการผลิตต่ำ เช่น เครื่องจักรล้าสมัย ขาดแคลนบุคลากร และแรงงานฝีมือ
               
2. ขาดการทำวิจัยและขาดการพัฒนารูปแบบของสินค้า
               
3. ขาดการทำตลาดเชิงรุก ไม่มีแบรนด์เป็นของตัวเอง
โอกาส (Opportunities)
               
1. ผลของการเปิด FTA การส่งออกสิ่งทอของไทย ได้ขยายการส่งออกเพิ่มมากขึ้น
               
2. กระแสการยอมรับจากหลายประเทศ เป็นการช่วยขยายการส่งออกสิ่งทอของไทย
อุปสรรค (Threats)
                1. การแข่งขันสูงจากหลายประเทศ เช่น จีน และ อาเซียน
               
2. การเข้าไปลงทุนตั้งโรงงานของผู้นำเข้ารายใหญ่ของโลก เช่น สหรัฐฯ ยุโรป

                     และญี่ปุ่น
               
3. การขาดแคลนแรงงานที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งส่งผลต่อการขยายตัว

                     ของการส่งออกอย่างมาก

วันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553


ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ในช่วงที่เหลือของปี 2553 อุตสาหกรรมสิ่งทอของไทยยังสามารถขยายการส่งออกได้เพิ่มขึ้น จนทำให้ภาพรวมการส่งออกสิ่งทอในปี 2553 คาดว่าจะมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 12 หรือมีมูลค่าการส่งออกประมาณ 7,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปัจจัยสำคัญที่ทำให้การส่งออกขยายตัวนั้น นอกจากจะได้รับอานิสงส์จากการที่ประเทศคู่ค้าหันมานำเข้ามากขึ้นแล้ว ผลของการเปิด FTA ในกรอบต่างๆ ทำให้ผู้ส่งออกสิ่งทอของไทยได้รับอานิสงส์จากการขยายการส่งออกได้เพิ่มขึ้น โดยพิจารณาได้จากมูลค่าการส่งออกในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2553 ที่เพิ่มขึ้น
            อย่างไรก็ตาม ผู้ส่งออกของไทยยังต้องพึงระวังกับปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่ อาจจะเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเผชิญการแข่งขันกับคู่แข่งที่สำคัญโดยเฉพาะจีนและอาเซียน ซึ่งถือเป็นประเทศส่งออกสิ่งทอรายสำคัญๆ ของโลก รวมถึงการเข้าไปลงทุนตั้งโรงงานของประเทศผู้นำเข้าสิ่งทอรายใหญ่ๆ ของโลก ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น หรือแม้แต่ปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่กำลังเกิดขึ้น ซึ่งจะมีผลต่อการขยายตัวของภาคส่งออกเป็นอย่างมาก
            ดังนั้น จากปัญหาดังกล่าว ไทยควรวางแนวทางการปรับตัวเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ไม่ว่าจะเป็น การปรับตัวด้านการผลิต ให้มีคุณภาพและตรงกับความต้องการของลูกค้ามากขึ้น และการปรับตัวด้านการตลาด โดย เฉพาะการขยายตลาดใหม่ๆที่มีศักยภาพ เช่น อาเซียน หรือตะวันออกกลาง ซึ่งถือเป็นฐานการผลิตเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่มที่สำคัญของโลก และคาดว่า ในอนาคตจะกลายเป็นตลาดใหญ่ที่มีความสำคัญสำหรับไทย 

วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประเทศอังกฤษ

       ประเทศอังกฤษ : กรุงลอนดอน


ชื่อทางการ   :  สหราชอาณาจักรบริเทนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ (The United Kingdom of Great Britain and Northern Ireland) แบ่งออกเป็น 4 แคว้นใหญ่ คือ อังกฤษ เวลส์ สก็อตแลนด์ และไอร์แลนด์เหนือ
เมืองหลวง    : กรุงลอนดอน
ที่ตั้ง      :  ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปยุโรป
พื้นที่    :   มีพื้นที่ทั้งหมด 242,514 ตารางกิโลเมตร หรือ 93,638 ตารางไมล์
ประชากร :   มีประชากรประมาณ 60 ล้านคน ประกอบด้วย ชนชาติอังกฤษ สก็อต เวลส์ ไอริช และประชากรจากประเทศในเครือจักรภพอังกฤษ ได้แก่ อินเดีย ศรีลังกา บังคลาเทศ ประเทศในตะวันออกกลาง แอฟริกา และจีน

แหล่งที่มา
http://www.choktaweetour.com/index_info.php?ID=17

วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ความแตกต่างระหว่างการตลาดระหว่างประเทศกับการค้าระหว่างประเทศ

   การตลาดระหว่างประเทศคือ การทำธุรกิจค้าขายอันเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มและนำเสนอคุณค่าที่อยู่ในรูปของสินค้าและบริการให้กับลูกค้าข้ามพรมแดนทางรัฐศาสตร์จากประเทศหนึ่งสู่ตลาดระหว่างประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อการหาตลาดใหม่ เพื่อแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดหรือเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่อยู่ในตลาดระหว่างประเทศ โดยจุดมุ่งหมายที่แท้จริงคือ ธุรกิจต้องการรายได้ที่เป็นเงินจากลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศ
                การตลาดระหว่างประเทศจึงเป็นเรื่องที่ซับซ้อนกว่าการตลาดภายในประเทศเป็นอย่างมาก ดังนั้นธุรกิจจะประสบความสำเร็จในตลาดระหว่างประเทศได้นั้น การตลาดระหว่างประเทศไม่ใช่เพียงแค่การขนส่งสินค้าข้ามพรมแดน การตลาดระหว่างประเทศไม่ใช่แค่การดำเนินการทางการตลาดโดยใช้หลักการตลาดพื้นฐานทั่วไป ที่ธุรกิจเคยใช้มาในตลาดภายในประเทศแล้วประสบความสำเร็จ เช่น การใช่ส่วนประสมทางการตลาด (Product, Price, Place and Promotion) ซึ่งกลยุทธ์เหล่านี้อาจจะไม่เพียงพอที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จในตลาดระหว่างประเทศ บางตลาดเลยก็เป็นได้ เนื่องจากตลาดภายในประเทศกับตลาดระหว่างประเทศจะมีความแตกต่างของปัจจัยต่างๆ อยู่เป็นอย่างมาก ดังนั้นสิ่งที่นักการตลาดระหว่างประเทศต้องระลึกถึงเสมอก็คือ วิธีที่จะสร้างความสำเร็จทางการตลาดทั้งตลาดภายในประเทศรวมถึงตลาดระหว่างประเทศนั้น นักการตลาดต้องค้นหาวิธีที่จะทำให้ธุรกิจสามารถสร้างความพึงพอใจให้ตลาดหรือธุรกิจต้องค้นหาวิธีที่จะสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ธุรกิจจึงจะพบกับความสำเร็จทางการตลาด 

แหล่งข้อมูล
www1.webng.com/logisticseminar/

          การค้าระหว่างประเทศ หมายถึง การซื้อขายสินค้าและบริการระหว่างประเทศต่างๆ ประเทศที่ทำการซื้อขายสินค้าระหว่างกัน เรียกว่า "ประเทศคู่ค้า" สินค้าที่แต่ละประเทศซื้อเรียกว่า "สินค้าเข้า" (imports) และสินค้าที่แต่ละประเทศขายไปเรียกว่า "สินค้าออก" (exports) ประเทศที่ซื้อสินค้าจากต่างประเทศ เรียกว่า "ประเทศผู้นำเข้า" ส่วนประเทศที่ขายสินค้าให้ต่าง ประเทศ เรียกว่า "ประเทศผู้ส่งสินค้าออก" โดยทั่วไปแล้ว แต่ละประเทศจะมีฐานะเป็นทั้งประเทศ ผู้นำสินค้าเข้า และ ประเทศผู้สินค้าออกในเวลาเดียวกัน เพราะประเทศต่างๆ มีการผลิตสินค้า แตกต่างกัน เช่น ประเทศไทยส่ง
 
สาเหตุที่มีการค้าระหว่างประเทศ
           เหตุผลทางเศรษฐกิจที่ทำให้ประเทศต่างๆในโลกทำการค้าขายกัน ที่สำคัญมีอยู่ด้วยกัน 2 ประการ คือ
1. ความแตกต่างทางด้านทรัพยากรที่ใช้ผลิตในแต่ละประเทศ เนื่องมาจากความแตกต่างในเรื่องสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ เช่น ประเทศไทยมีพื้นดินที่อุดมสมบูรณ์เหมาะสมแก่การเพาะปลูกมากกว่าญี่ปุ่น คูเวตมีน้ำมันมาก กว่าไทย จีนมีประชากรมากกว่าประเทศอื่นๆ ดังนั้น ประเทศใดที่มี ทรัพยากรชนิดใดมาก ก็จะผลิตสินค้าที่ใช้ทรัพยากรชนิดนั้นๆเป็นปัจจัยการผลิตสินค้าออกเพื่อแลกเปลี่ยน กับสินค้าอื่น
2. ความแตกต่างในเรื่องความชำนาญในการผลิต เนื่องจากผู้ผลิตของแต่ละประเทศจะมีความชำนาญและเทคโนโลยีในการผลิตสินค้าและ บริการแตกต่างกัน บางประเทศผู้ผลิตมีความรู้ความชำนาญเป็นพิเศษในการผลิตสินค้า บางชนิด เช่น ประเทศญี่ปุ่นมีความรู้ความชำนาญในการผลิตเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ ประเทศเนเธอร์แลนด์มีความรู้ความชำนาญในการผลิตเครื่องจักรกลการเกษตร ประเทศสวิตเซอร์แลนด์มีความรู้ความชำนาญในการผลิตนาฬิกา ความแตกต่างของ ปัจจัยดังกล่าวนี้ผลักดันให้แต่ละประเทศเล็งเห็นประโยชน์จากการเลือกผลิตสินค้าบาง อย่างที่มีต้นทุนต่ำ มีความรู้ความชำนาญ และเลือกสั่งซื้อสินค้าแตะละประเภทที่ผู้บริโภค ในประเทศของตนต้องการแต่ไม่สามารถผลิตได้ หรือผลิตได้ในต้นทุนที่สูงเกินไป และปัจจัยเหล่านี้ก้อให้เกิดการค้าระหว่างประเทศเกิดขึ้น


แหล่งข้อมูล
http://megaclever.blogspot.com/2008/07/blog-post_8307.html




ความแตกต่างระหว่างการตลาดระหว่างประเทศกับการค้าระหว่างประเทศ
          การตลาดระหว่างประเทศ คือธุรกิจจะทำการผสมผสานกิจกรรมทางการตลาดกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพให้สามารถเข้ากับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจในตลาดระดับโลกได้อย่างกลมกลืน มีประสิทธิภาพและสามารถสร้างความได้เปรียบทางการตลาด
โดยการศึกษาและสำรวจถึงความต้องการและความพึงพอใจของกลุ่มตลาดเป้าหมายของตลาดประเทศที่ธุรกิจจะทำการตลาดเพื่อที่จะตอบสนองได้ตรงความต้องการของตลาดแต่ละประเทศ
                แต่ในส่วนของการค้าระหว่างประเทศจะมุ่งเน้นที่การซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากันระหว่างประเทศต่าง กัน  ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากแต่ละประเทศมีทรัพยากรไม่เหมือนกัน    ประเทศหนึ่งผลิตสินค้าชนิดหนึ่ง  แต่ผลิตอีกชนิดหนึ่งไม่ได้  จึงจำเป็นต้องนำสินค้าอีกประเทศหนึ่งที่ตนผลิตได้ไปแลกเปลี่ยนกับอีกประเทศหนึ่ง

วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2553

กลยุทธ์การตั้งราคา (Price Strategy) เพื่อเพิ่มยอดขาย

ในบรรดากลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด (Marketing Mix)

ซึ่งประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ (Product) ราคา (Price) ช่องทางการจัดจำหน่าย (Place) และการส่งเสริมทางการตลาด (Promotion) ที่ ผู้ประกอบการบางแห่งนำมาใช้ในการวางแผนการตลาดนั้น ดูเหมือนว่ากลยุทธ์ด้านราคาดูจะเป็นสิ่งที่กลุ่มผู้ประกอบการขนาดเล็กให้ ความสำคัญน้อยมาก
ใน การนำการตั้งราคาเชิงกลยุทธ์มาใช้ทั้ง ๆ ที่ราคาเป็นปัจจัยสำคัญที่ลูกค้าใช้พิจารณาในการตัดสินใจซื้อสินค้าไม่น้อย ไปกว่าตัวสินค้า จึงลองรวบรวมแนวทางการกำหนดราคาเชิงกลยุทธ์มาไว้ เพื่อให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็กลองนำไปปรับใช้ดู ในการกระตุ้นยอดขายและเรียกร้องความสนใจกับลูกค้า มาลองดูกันว่ากลยุทธ์ราคาที่เขาใช้กันมีอะไรบ้าง

กลยุทธ์แนวระดับราคา (Price Lining) คือ การที่ผู้ผลิตหรือร้านค้ากำหนดระดับราคาของสินค้าประเภทเดียวกันแต่ต่างแบบ ต่างรุ่นหรือมีระดับคุณภาพแตกต่างกันไป เพื่อให้ผู้บริโภคมีโอกาสเลือกสินค้าในระดับราคาที่เขาพอใจ กลยุทธ์ราคาลักษณะนี้ สอดคล้องกับแนวคิดที่เชื่อว่าลูกค้าแต่ละราย มีความต้องการแตกต่างกัน บางคนอาจยอมจ่ายแพงกว่า เพื่อให้ได้สินค้าที่ดูดีมีระดับกว่าคนอื่น ขณะที่ลูกค้าบางกลุ่ม ต้องการสินค้าราคาประหยัด ไม่ต้องการลูกเล่นมากนัก การตั้งราคาแบบแนวระดับราคา จึงเป็นกลยุทธ์ที่ช่วยเพิ่มโอกาสในการขายได้ดีกว่าการการผลิต และกำหนดราคาสินค้าในราคาเดียวกัน
ตัวอย่าง ที่เห็นได้คือผู้ผลิตและผู้จำหน่ายโทรศัพท์มือถือเกือบทุกยี่ห้อเวลาออกรุ่น ใหม่ ๆ มักจะออกผลิตภัณฑ์เป็นชุดที่มีหลากรุ่น และมีราคาต่างกันตั้งแต่หลักพันบาท ไปจนถึงหลักหมื่นบาท ซึ่งก็เป็นการใช้กลยุทธ์ราคาดังกล่าวนั่นเอง

กลยุทธ์ราคาล่อใจ (Loss Leader Pricing) เป็น กลยุทธ์ราคาอีกลักษณะหนึ่งที่เรามักเห็นกันบ่อยในซุปเปอร์มาร์เก็ต คือการที่ร้านค้ายอมตั้งราคาสินค้าบางตัวต่ำกว่าราคาทั่วไปตามท้องตลาดมาก ๆ หรือหลาย ๆ ครั้งยอมตั้งราคาต่ำกว่าทุนที่ซื้อมาเสียอีก และโฆษณาราคาของสินค้ากลุ่มนี้ออกไปว่าเป็นราคาพิเศษประจำสัปดาห์ของร้าน เช่น ไข่ไก่ฟองละ 1 บาท หมูเนื้อแดงกิโลกรัมละ 35 บาท น้ำตาลทรายกิโลกรัมละ 9 บาท เป็นต้น
การ ตั้งราคาในลักษณะนี้ มักทำกับสินค้าที่ลูกค้าส่วนใหญ่รู้ราคาตลาดเป็นอย่างดี และเป็นสินค้าที่ลูกค้าซื้อใช้เป็นประจำ เช่น น้ำอัดลม น้ำปลา เนื้อสัตว์ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เพื่อดึงดูดหรือล่อใจให้ลูกค้าอยากมาจับจ่ายที่ร้านค้านั้น ๆ เพราะเห็นว่าสินค้ามีราคาถูก โดยร้านค้าถือว่าเมื่อลูกค้ามาซื้อของที่ร้าน ก็มักจะซื้อสินค้าหลาย ๆ อย่างในคราวเดียว
ร้านค้าอาจขาดทุน 1-3 บาทต่อชิ้นสำหรับสินค้า 3-4 รายการที่ตั้งราคาแบบล่อใจไว้ แต่ร้านอาจได้กำไร 5-10 บาทต่อชิ้นสำหรับสินค้าอีกหลายสิบรายการที่ลูกค้าคนนั้น ๆ ซื้อออกไปในคราวเดียวกัน

กลยุทธ์ราคาเลขคี่ (Odd Pricing) เป็นกลยุทธ์การตั้งราคาในเชิงจิตวิทยา โดยผู้ผลิตหรือร้านค้าจะตั้งราคาสินค้าให้ลงท้ายด้วยเลขคี่ ที่นิยมกันมากคือการลงท้ายด้วยเลข 9 เช่น 39 บาท 99 บาท 199 บาท เป็นต้น การตั้งราคาแบบนี้ในทางจิตวิทยาจะทำให้ลูกค้ารู้สึกว่า ของที่ขายราคาไม่แพง การลงท้ายด้วยเศษดูเหมือนว่าผู้ขายลดราคาให้แล้ว (ลดซักบาทก็ยังดีกว่าไม่ลด)
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเศษก่อนที่จะขึ้นหลักต่อไป เช่น 99 บาท แทนที่จะเป็น 100 บาท ยิ่งทำให้ราคาดูต่ำลงมากในความรู้สึกของลูกค้าทั้ง ๆ ที่ส่วนต่างของราคาอยู่เพียงแค่ 1 บาท เท่านั้น แต่กลยุทธ์แบบนี้จะไม่เหมาะสมกับการตั้งราคาที่สินค้าจับกลุ่มผู้บริโภค ระดับสูง หรือสินค้าที่ต้องการสร้างภาพลักษณ์ที่ดี เช่น น้ำหอม เสื้อผ้าราคาแพง เพราะจะทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าเกรดของสินค้าดูต่ำลง

กลยุทธ์การตั้งราคาตามฤดูกาล (Seasonal Pricing) เป็น การกำหนดราคาสินค้าให้ต่ำลงกว่าปกติในช่วงเวลาที่มีความต้องการของลูกค้า น้อยหรือกำหนดราคาให้สูงขึ้นในช่วงเวลาลูกค้าคับคั่ง เพื่อกระตุ้นให้ลูกค้าซื้อสินค้ามากขึ้นในช่วงนอกฤดูกาล และเพิ่มกำไรของธุรกิจในช่วงที่สินค้ามีความต้องการสูง
ส่วน ใหญ่มักใช้กับสินค้าหรือบริการที่ความต้องการของลูกค้ามีการเปลี่ยนแปลงสูง ในแต่ละช่วงเวลา เช่น ร้านอาหารมักมีลูกค้าคับคั่งในช่วง 11.30 - 14.00 น. และในช่วง 18.00 - 21.00 น. ขณะที่ในช่วงบ่ายและดึกมีลูกค้าน้อย แต่ร้านอาหารยังมีค่าใช้จ่ายคงที่ (Fixed Cost) ใน ด้านค่าจ้างคนงาน ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า จึงทำให้ร้านอาหารหลายแห่งเสนอส่วนลดพิเศษให้ลูกค้าที่มารับประทานในช่วง เวลาบ่ายหรือค่ำ ขณะที่โรงภาพยนตร์บางแห่งตั้งราคาตั๋วในรอบวันศุกร์เย็น เสาร์ และอาทิตย์สูงกว่าราคาในวันอื่น ๆ ก็เป็นการนำกลยุทธ์การตั้งราคาตามฤดูกาลไปใช้เช่นกัน

กลยุทธ์ราคาแยกตามกลุ่มลูกค้า (Pricing by Type of Customers) เป็น การกำหนดราคาให้ต่างกันสำหรับกลุ่มลูกค้าที่ต่างกันโดยพิจารณาจากกำลังซื้อ ของลูกค้าหรือเพื่อกระตุ้นความต้องการของลูกค้าบางกลุ่มให้สูงขึ้น เช่น บริษัทขายโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ตั้งราคาโปรแกรมแบบเดียวกันที่ขายให้แก่สถาบันการศึกษาต่ำกว่าที่ขายให้ภาค ธุรกิจเอกชน
ร้าน อาหารบางแห่งหรือร้านถ่ายเอกสารที่ตั้งอยู่ใกล้บริเวณโรงเรียนหรือ มหาวิทยาลัย ให้ราคาที่มีส่วนลดพิเศษสำหรับนักเรียนและนักศึกษาเพื่อกระตุ้นให้กลุ่มนี้ มาใช้บริการมากขึ้นหรือการที่ผับบางแห่งตั้งราคาค่าเข้าไปใช้บริการสำหรับ ลูกค้าชายสูงกว่าลูกค้าหญิง (บางแห่งให้ผู้หญิงเข้าฟรี จัดวันพิเศษ เช่น ทุกวันศุกร์เป็น Lady Night ผู้หญิงเข้าฟรี) เพราะเชื่อว่าถ้าลูกค้าสาว ๆ มาที่ร้านมาก ๆ จะช่วยดึงดูดลูกค้าชายมาที่ร้านมากขึ้น ชดเชยรายได้ที่ลดราคาลงไปได้

กลยุทธ์ราคาชุด (Product Set Pricing) เป็นการนำเอาสินค้าแบบเดียวกันหรือต่างชนิดกันมากกว่า 1 ชิ้น มารวมขายเป็นชุด โดยตั้งราคารวมของชุดให้ต่ำกว่าราคาปกติของสินค้าแต่ละชิ้นที่นำมารวมกัน เพื่อกระตุ้นให้ลูกค้าซื้อสินค้าในปริมาณที่มากขึ้น เช่น ราคา S&P อาจจัดชุดอาหารกลางวันที่ประกอบด้วยอาหารจานเดียวพร้อมเครื่องดื่มและของหวานในราคาชุดละ 85 บาท ซึ่งถ้าสั่งแยกอาจต้องจ่ายกว่า 100 บาท หรือชุดทำสังฆทานที่เราซื้อจากห้างเทสโก้ โลตัส KFC หรือร้าน Fast Food นิยมใช้กัน
จะ เห็นได้ว่ากลยุทธ์ราคาเป็นเครื่องมือสำคัญ ที่จะช่วยทั้งเพิ่มยอดขาย สกัดคู่แข่ง เพิ่มความพึงพอใจให้ลูกค้า หรือแม้กระทั่งช่วยเรียกลูกค้าให้เข้ามาที่ร้าน แต่ต้องไม่ลืมว่า การเล่นกับกลยุทธ์ด้านราคา แม้จะได้ผลเร็วและแรงแต่ก็มักจะได้รับการโต้กลับจากคู่แข่งเร็วและแรงเช่น กัน หากต่างฝ่ายต่างแข่งขันกันในด้านราคา จนสร้างสงครามด้านราคา ละเลยการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพในตัวสินค้า ในระยะยาวแล้วจะเป็นผลเสียทั้ง 2 ฝ่าย จึงเป็นกลยุทธ์ที่ผู้ประกอบการต้องเลือกหยิบมาใช้ให้เหมาะสมกับเวลาและสถานการณ์ด้วย

รูปตัวอย่าง





ที่มาของข้อมูล http://www.siaminfobiz.com/mambo/content/view/2853/37/